วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

บทกวีอื่นๆ

ไฮกุ
ไฮกุ (俳句, haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่น มีบทบาทมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไฮกุเป็นบทกวี โดยที่กวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกันและมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัวเท่านั้น ไฮกุ มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ สั้นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วนๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น
「朝顔に釣瓶とられてもらひ水」
อา เจ้าดอกบานเช้า
ถังน้ำถูกเถาของเจ้าพัวพัน
ฉันวอนขอน้ำน้อยหนึ่งได้ไหม
--ชิโย
ในครั้งกระนั้นกวีหญิงชิโยมาตักน้ำในบ่อน้ำเธอได้พบว่าที่ตักน้ำได้ถูกเกี่ยวกระหวัดไว้ด้วยเถาของดอกบานเช้า (มอร์นิงกลอรี เธอได้ตะลึงงันด้วยความงามของมันจนลืมนึกถึงงานที่จะต้องทำ เมื่อมีสติ จึงนึกถึงภาระที่ต้องทำขึ้นมาได้ แต่เธอก็ไม่อยากจะไปรบกวนดอกไม้นั้น เธอจึงไปตักน้ำที่บ่อของเพื่อนบ้านแทน
「艸の葉を遊びありけよ露の玉」
เริงรำจากใบหญ้าใบนี้
สู่ใบโน้น
หยกหยาดน้ำค้าง
--รานเชตสุ
บทกวีรานเชตสุแสดงออกถึงความปิติรื่นเริงเบิกบานอย่างแท้จริง เมื่อชีวิตได้รับการหล่อเลี้ยงจากความงาม ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยปิติสุข น้ำค้างเป็นตัวแทนของความปิตินี้ ไหลหยดย้อยด้วยลีลาของธรรมชาติ ดั่งการร่ายรำของหยาดน้ำค้าง จากใบหญ้าใบนี้สู่ใบโน้น น้ำค้างที่บริสุทธิสะอาดและประกายแวววับดุจหยกเมื่อต้องแสงอาทิตย์
จิตวิญญาณของกวีไฮกุ ได้ถ่ายทอดอย่างตรงไปตรงมาและมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิเต๋าและนิกายเซนอย่างที่สุด
ประวัติไฮกุ

ไฮกุมาจากบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่าไฮไคขเร็งะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ท่านปรมาจารย์ มะสึโอะ บะโช(ค.ศ. 16441694) ได้ขัดเกลาและสร้างแบบแผน ซึ่งต่อมาในสมัยเมจิได้มีการเรียกการประพันธ์ในแบบนี้ว่าไฮกุ ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่นิยมแต่งไฮกุถึง 10 ล้านคน และชาวต่างประเทศที่รักการแต่งไฮกุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งในหมู่ชาวไทย
รายชื่อนักกวีไฮกุที่สำคัญ

มะสึโอะ บะโช (Matsuo Bashō - 松尾芭蕉)
อุ่นอิงไอเตาผิง
ดนตรีน้ำเดือดร่วมบรรเลง
เพลินฟังหลับสบาย
ดนตรีประสานเสียง
หญิงสูงชายต่ำคล้องจองกัน
โลกล้วนภาษาเดียว
(เขียนโดย: สหายเบ๋อวเข่อวเว่อว)
พระจันทร์คล้อย ลอยเด่น
เหนือ มหานคร เคลื่อนไหว
สะพาน บน ผืนน้ำ
พันหมื่น ทิวา ล่วง
เต็ม เสี้ยว เด่น มองเห็น สลับ
วันนี้ กลับ ส่องแสง
(เขียนโดย: มอนจู)

แคนโต้
แคนโต้ เป็นร้อยกรองร่วมสมัยของไทยประเภทหนึ่ง เป็นกลอนเปล่าไม่มีสัมผัส มี ๓ บาท บาทละ ๑ วรรค ในแต่ละวรรคไม่กำหนดจำนวนพยางค์ ลักษณะเด่นของแคนโต้คือใช้คำน้อย แต่ให้ความหมายลึกซึ้ง คล้ายโคลงไฮกุของญี่ปุ่น

แคนโต้เป็นบทกวีร่วมสมัย ที่เกิดขึ้นโดยชายไทยที่ชื่อ ฟ้า พูลวรลักษณ์เขาค้นพบแคนโต้โดยความบังเอิญจากการขีดเขียน ซึ่งเขาเห็นว่าบทกวีสามบรรทัดสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีกว่าสิบบรรทัด คำว่า แคนโต้จึงถือกำเนิดขึ้นในวงการกวีร่วมสมัย เสน่ห์ของแคนโต้คือความสั้น ง่าย ไร้ฉันทลักษณ์ แต่ละบท แต่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกได้ดีเทียบเท่ากวีที่มีสัมผัสหลายสิบบรรทัด แคนโต้แต่ละบท ซึ่งการที่ผู้อ่านจะเข้าถึงอารมณ์ของบทกวีสามบรรทัดนี้ได้นั้น ต้องอาศัยการปะติดปะต่อและจินตนาการ ต่อเติมช่องว่างระหว่างตัวอักษรที่ร้อยเรียงกันในแต่ละบรรทัด แคนโต้ ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่นาน แต่คนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งก็ให้ความสนใจและหลงใหลไปกับเสน่ห์ของบทกวีเจียมถ้อยคำเหล่านี้
                                                 จะเป็นเช่นไร
                                                หากใช้ชีวิต
                                                โดยไม่เห็นตัวเองมาก่อน
                                                                                           # “ดอกไม้สีส้ม”

กลอนเปล่า

 กลอนเปล่า  ( Blank  words )  มีชื่อเรียกหลายอย่าง  เช่น  กลอนอิสระ  กลอนปลอดสัมผัส  คำร้อยไร้ฉันทลักษณ์  เป็นคำประพันธ์รูปแบบใหม่  ที่มีลักษณะกำกึ่งระหว่างร้อยกรองกับร้อยแก้ว  ดังนั้นจึงเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำ  โดยไม่มีลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ท่ตายตัว  แต่ก็ไม่ใช่ความเรียงเขียนติดต่อกันไปอย่างร้อยแก้ว  จะมีการแบ่งเป็นช่วงเป็นวรรค  ที่ได้จังหวะงดงาม  สั้นหรือยาวก็แล้วแต่เนื้อความ  การแบ่งข้อความเป็นวรรคเป็นช่วงนี่เอง  ทำให้ดูแล้วมีลักษณะเหมือนกลอน   กลอนเปล่าจะมุ่งเน้นเนื้อหามากกว่า
รูปแบบ  ไทยได้รับอิทธิพลกลอนเปล่ามาจากตะวันตก  ผ้ท่นำกลอนเปล่ามาใช้ในไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอย่หัว  รัชกาลท่ 6  โดยใช้เป็นบทสนทนาของบทละครท่แปลมาจากบทละครของเช็คสเปียร์  เช่น  เร่อง  โรเมโอและจูเลียต  เช่น
        “  นามนั้นสำคัญไฉนที่เราเรียกกุหลาบนั้น
แม้เรียกว่าอย่างอื่นก็หอมรื่นอย่เหมือนกัน
โรเมโอก็ฉันนั้น,  แม้โรเมโอมิใช่นาม,
ก็คงจะยังพร้อม  บริบูรณ์ ด้วยสิ่งงาม
โดยไม่ต้องใช้นามโรเมโอ,  ทิ้งนามไกล “
   ต่อมา จิตร  ภูมิศักดิ์  เขียนบทร้อยกรอง  ชื่อพิราบขาว  ในลักษณะของกลอนเปล่า  แต่เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม  ในความหมายของตะวันตก  ทำให้มีผู้เรียกว่า  กลอนเปลือย
กลอนเปล่า-กลอนเปลือย  จึงเป็นงานเขียนท่ใช้ถ้อยคำให้กระทัดรัด  จัดเป็นบรรทัด  มีความสั้น ยาว ไม่เท่ากัน  หรือจัดเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง  เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น  เช่น
ตัวอย่างที่ ๑  มีรูปแบบ - สัมผัส คล้ายกาพย์ยานี  มีการใช้ภาพพจน์
สีเทาแห่งราตรี
มืดมนมีความเหว่ว้า
ลมหนาวพัดผ่านมา
มองนภาน่าหวั่นใจ
หริ่ง  หริ่ง  เรไรร้อง
ดั่งนวลน้องครวญคร่ำไห้
มองจันทร์ผ่องอำไพ
ดั่งดวงใจอาลัยเอย
ตัวอย่างที่ ๒  มีรูปแบบ – สัมผัส  คล้ายกลอนแปด
ตอนนี้…ฉันรู้เธอสงสัย
ว่าทำไม…ฉันเปลี่ยนไปไม่เหมือนก่อน
ดูเงียบ ๆ … เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
ดูเฉยชากับทุกตอนที่ผ่านไป
…อยากบอกเธอไม่มีใครทำให้เปลี่ยน
แต่เรื่องเรียนฉันเคยเขียนความฝันไว้
อนาคตวาดไว้สูงฉันต้องไป
ใช่เธอทำผิดใจ
หรือหัวใจ… ข้างในมีใครแทน
ตัวอย่างที่ ๓  เป็นร้อยแก้วธรรมดา  มุ่งเน้นอารมณ์
แม่จ๋า …
หนูหนาวเหลือเกิน
ทำไมเราไม่มีเสื้อกันหนาวเหมือนคนอื่น
แม่จ๋า …
หนูหิวเหลือเกิน
ทำไมเราไม่มีข้าวกินเหมือนคนอื่นเขา
………………………..
ก็เรามันจนนี่ลูก…
แม่ตอบ…
น้ำตาแม่หลั่งไหล …  อาบแก้ม
………………………


บทกวีภาษาอังกฤษ
Hope is the thing with feathers ความหวังเปรียบดังสิ่งที่มีขนนก
That perches in the soul,  ที่เกี่ยวเกาะในจิตของเรา
And sings the tune without the words, ร้องเพลงเจี้อยแจ้วโดยไร้ถ้อยคำ
And never stops at all, และไม่เคยหยุดเลย

And sweetest in the gale is heard; เป็นเสียงหวานไพเราะที่สุดท่ามกลางลมพายุ
And sore must be the storm และความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวคือมรสุม
That could abash the little bird ที่ทำลายนกน้อย
That kept so many warm. ผู้สร้างความอบอุ่นให้ผู้คนมากมาย

I've heard it in the chilliest land ฉันได้ยินนกในดินแดนที่เยือกเย็นที่สุด
And on the strangest sea; และในทะเลที่แปลกประหลาดที่สุด
Yet, never, in extremity, ซึ่งไม่เคยเลยไม่ว่าอย่างไร
It asked a crumb of me. จะขอแม้เพียงเศษขนมปังจากฉัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น