วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โวหาร

โวหารในบทประพันธ์

                          โวหาร   หมายถึง  ถ้อยคำที่ใช้ในการเขียนหรือการประพันธ์  เพื่อให้ผู้อ่าน
เกิดความเข้าใจและรู้สึกคล้อยตาม  เกิดภาพพจน์ตามจุดมุ่งหมายของผู้ประพันธ์
                          โวหาร  ที่นำมาใช้ในบทร้อยกรอง  สามารถจำแนกได้  10  ประเภท  คือ
1.    บรรยายโวหาร                                           2.      พรรณนาโวหาร
3.    เทศนาโวหาร                                             4.      สาธกโวหาร
5.    อุปลักษณ์โวหาร                                        6.      อุปมาโวหาร
7.    บุคลาธิษฐาน                                             8.      อติพจน์
9.      สัญลักษณ์                                              10.    ปฏิพากย์

1.    บรรยายโวหาร   คือ  โวหารเขียนเล่าเรื่องโดยละเอียด  สร้างความเข้าใจแจ่มชัดแก่ผู้อ่าน
        ตัวอย่าง
                                        มีนัครามหาสถาน                           นามขนานนครสถิต
                          ประจิมทิศและบูรพา                                     มีทุ่งนาเรือง
                          มีสนามหญ้าอยู่หน้าเมือง                              เจริญเรืองครั้งโบราณ
                          ป้อมปราการถะเกิงยศ                                   ยังปรากฏเสียง
ศาลาโกหก  (สัจจศาลา)”  เจ้าคุณรัตนชัชมนี  ศรีธรรมราช

                                        มาจะกล่าวบทไป                        ถึงสี่องค์ทรงธรรม์นาถา
                          เป็นหน่อเนื้อเชื้อวงศ์เทวา                           ปิตุเรศมารดาเดียวกัน
                          รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช                                ได้ดำรงนคเรศเขตขัณฑ์
                          พระเชษฐาครองกรุงกุเรปัน                          ถัดนั้นครองดาหาธานี
                          องค์หนึ่งครองกาหลังบุรีรัตน์                        องค์หนึ่งครองสิงหัดส่าหรี
                          เฉลิมโลกโลกาธาตรี                                  ไม่มีผู้รอต่อฤทธิ์
อิเหนา”    รัชกาลที่  2

2.    พรรณนาโวหาร   คือ  โวหารเขียนที่มีลักษณะคล้ายบรรยายโวหาร  แต่สอดแทรกอารมณ์
ความรู้สึกให้แก่ผู้อ่านได้ซาบซึ้งและคล้อยตาม  อาจกล่าวว่าพรรณนาโวหารมุ่งสร้างความ
สะเทือนใจแก่ผู้อ่านก็ได้
        ตัวอย่าง
                                        “เขียวมาพำพร้องเพรา                   ดุจดังเขานีลาชัน
                          หูกวางตะแบกบรรณ์                                   ขธิรพรรณไพสา
                                        สระคร้อยางรังราย                        กิ่งทรสายทรสุมผกา
                          ลมไล้ยะยาบสา                                         ขาพรั่งพร้อมในไพรพง
                                        เปรียบชายมึกมวยเหล้า                 ไม้ค้อมเกล้ากราบกลางดง
                          นกหกและห่านหงส์                                    ลงจับไม้แข่งขันขัน
มหาชาติคำหลวง
                                        ยอดมัวสลัวเมฆ                             รุจิเรขเรียงราย
                          เลื่อมเลื่อมศิลาลาย                                        ก็สลับระยับสี
                                        ขาบแสงประภัสสร                         นิลก้อนตระการดี
                          ขาวแม้มณีมี                                                รตรุ้งรำไพพรรณ
                                        ทอแสงผสานสาย                           สุริย์ฉายก็ฉายฉัน
                          เหลืองเรื่ออุไรวรร-                                        ณวิจิตรจำรูญ
                                        แง่งเงื้อมชะง่อนงาม                        ก็วะวามวิไลปูน
                          ปนรัตนไพฑูร-                                             ยพิพิธประภากร
อิลราชคำฉันท์”    :   พระยาศรีสุนทรโวหาร   (ผัน  สาลักษณ์)

3.    เทศนาโวหาร   คือ  โวหารที่มีลักษณะเป็นคำสอน  ผู้อ่านจะรู้สึกซาบซึ้ง  เข้าใจ  และเห็นด้วยกับข้อความนั้น ๆ
        ตัวอย่าง
                                        ละสิ่งอกุศล                                  สิกมลมลจะพึงหมาย
                          เหมาะยิ่งทั้งหญิงชาย                                   สุจริตณไตรทวาร
                                        จงมุ่งบำเพ็ญมา                             ตุปิตุปัฏฐานการ
                          บำรุงบิดามาร                                              ดรให้เสวยสุข
                                        ใครทำฉะนี้ไซร้                             ก็จะได้นิราศทุกข์
                          เนานานสราญสุข                                         และจะได้คระไลสวรรค์
ธรรมาธรรมะสงคราม”     รัชกาลที่  6

4.    สาธกโวหาร    หมายถึงโวหารที่แสดงตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบ  โดยส่วนใหญ่แทรกไว้
ในเทศนาโวหารและบรรยายโวหาร
        ตัวอย่าง
                                        อันภูบดีรา                                   ชอชาตศัตรู
                          ได้ลิจฉวีภู                                                 วประเทศสะดวกดี
                                        แลสรรพบรรดา                            วรราชวัชชี
                          ถึงซึ่งพิบัติบี                                               ฑอนัตถ์พินาศหนา
                                        เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก                  คณะแตกและต่างมา
                          ถือทิฐิมานสา                                             หสโทษพิโรธจอง
                                        แยกพรรคสมรรภิน                       ทนสิ้น บ ปรองดอง
                          ขาดญาณพิจารณ์ตรอง                                 ตริมลักประจักษ์เจือ
                                        เชื่ออรรถยุบลเอา                          รสเล่าก็ง่ายเหลือ
                          เหตุหาก ธ มากเมือ                                     คติโมหเป็นมูล
                                        จึ่งดาลประการหา                         ยนภาวอาดูร
                          เสียแดนไผทศูนย์                                       ยศศักดิเสื่อมนาม
สามัคคีเภทคำฉันท์”    :    นายชิต  บุรทัต

5.    อุปลักษณ์โวหาร    คือ  โวหารแสดงการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง  เป็น”  หรือ  คือ”  อีกสิ่งหนึ่ง
        ตัวอย่าง
                                        ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร           ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                          แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร                             ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
                          แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ                       พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
                          แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา                             เชยผกาโกสุมปทุมทอง
                          เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่                               เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
                          จะติดตามทรามสงวนนวลละออง                 เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
พระอภัยมณี”    :   สุนทรภู่

                                        ความรู้เปรียบด้วย                        กำลัง   กายเฮย
                          สุจริตคือเกราะบัง                                       ศาสตร์พ้อง
                          ปัญญาประดุจดัง                                        อาวุธ
                          กุมสติต่างโล่ป้อง                                       อาจแกล้วกลางสนาม
ประชุมโคลงสุภาษิต”    รัชกาลที่  5

6.    อุปมาโวหาร    คือ  โวหารที่เปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง  มักแทรกไว้ในบทพรรณนาโวหาร  โดยจะปรากฏคำต่าง ๆ
       เหล่านี้  ได้แก่  ดัง   ดั่ง   เช่น   เพียง   เพี้ยง   ราวกับ   พ่าง   เฉก   เหมือน   ปาน   ฯลฯ
        ตัวอย่าง
                                        เทศใดทันต่างด้าว                        ดูแคลน
                          มาสู่อยู่ยึดแดน                                          เดชกร้าว
                          เทศนั้นสบั้นแบน                                       บั่นสิทธิ
                          ดุจดั่งราหูห้าว                                           ห่อห้มอมจันทร์
สามกรุง”    :   สมเด็จพระราชวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
                                        ไพรินทรนาศเพี้ยง                       พลมาร
                          พระดั่งองค์อวตาร                                      แต่กี้
                          แสนเศิกห่อนหาญราญ                                รอฤทธิ์   พระฤา
                          ดาลตระดกเดชลี้                                        ประลาดหล้าแหล่งสถาน
ลิลิตตะเลงพ่าย”     :    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า   กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

                                        ดูลิ้นจี่สีปลั่งก็ยังแหนง                  ไม่เหมือนแสงโอษฐ์แฉล้มเมื่อแย้มสรวล
                          หอมสุคนธ์ผลจันทน์ที่รัญจวน                     ไม่หอมหวนเหมือนเนื้อที่เจือจันทน์
                                        หอมลำเจียกจับฤดีแต่มีหนาม        เหมือนเจ้างามงอนคารมทั้งคมสัน
                          เถาสวาทเหมือนสวาทพี่พาดพัน                  เขาหลงนั้นเหมือนพี่หลงทรงพะงา
                                        โอ้เต่าร้างเหมือนพี่ร้างมาห่างเคล้า สงสารเต่าร้างโรยให้โหยหา
                          ถึงสวนแดนแสนเสียดายสายสุดา                พสุธาเดียวจะห่างไปต่างแดน
นิราศพระปฐม”   :   หลวงจักรปาณี   (มหาฤกษ์)

7.    บุคลาธิษฐาน    หมายถึง  การสมมติสิ่งไม่มีชีวิตให้มีชีวิต  หรือสมมติให้สิ่งที่ไม่ใช่คนทำ
กิริยาอาการของคน  มีความรู้สึกมีความคิดเหมือนคน  ทำให้เรื่องราวมีชีวิตและเร้าอารมณ์ 
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  บุคคลวัต” 
        ตัวอย่าง
                                        ลำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว             ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี
                          จะโรยร้างห่างสิ้นกลิ่นมาลี                                จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ
                          ที่มีกลิ่นก็จะวายหายหอม                                  จะพลอยตรอมเหือดสิ้นกลิ่นตรลบ
                          ที่มีดอกก็จะวายระคายครบ                                จะเหี่ยวแห้งซาซบสลบไป          
                                        เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้า          เย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่
                          เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัย                    เมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน
วารีดุริยางค์”   :   เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์

                          พระอาทิตย์โบกมือลา                                 แม้แต่ฟ้ายังร้องไห้  ยามเมื่อเขาสั่งลา
                          ดอกไม้ยิ้ม    สายน้ำกระซิบ                        พระจันทร์สีซีด ๆ ดูซึมเศร้าอยู่บนท้องฟ้า
                          ซุงร้อยท่อนนอนร้องไห้อยู่ชายป่า                กุหลาบแสนสวยยิ้มรับอรุณ

8.    อติพจน์  หรือ  อธิพจน์    หมายถึง  การใช้โวหารโลดโผนเกินความจริง  เป็นการกล่าว
ในแง่อารมณ์หรือความรู้สึก  ที่มีความรุนแรง  เพื่อเร้าอารมณ์ให้เกิดความหนักแน่น  ซาบซึ้ง
เคลิบเคลิ้มหรือคล้อยตาม  
        ตัวอย่าง
                                        พักผ่อนร่างไร้แรงใต้แสงเดือน      ใบไม้เกลื่อนดาษพื้นดินไร้ฝัน
                          มองซากใบนึกอยากให้ใช่ทอดมัน                มากินกันสุขสันต์วันแสนตรม
วันตะทาน   บุรีลพ

9.    สัญลักษณ์    คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง
        ตัวอย่าง
                                        แลไถงถงาดเลี้ยว                        ลับแสง
                          สอดซึ่งดาเรียมแส                                     ทั่วพื้น
                          จวบจันทร์แจ่มโลกแปลง                           มาเปลี่ยน
                          หวนว่ามุขแม่ฟื้น                                      เยี่ยมฟ้าหาเรียม
นิราศนรินทร์”    :    นายนรินทร์ธิเบศร์
                          จันทร์  คือใบหน้าของผู้หญิง
                                        อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า                   มาถนอม
                          สูงสุดมือมักตรอม                                     อกไข้
                          เด็ดแต่ดอกพะยอม                                    ยามยาก   ชมนา
                          สูงก็สอยด้วยไม้                                       อาจเอื้อมเอาถึง
                          “โคลงโลกนิติ”     :    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาเดชาดิศร
                          ดอกฟ้า    คือผู้หญิงสูงศักดิ์


10.  ปฏิพากย์    คือ   โวหารที่มีความหมายตรงกันข้าม
        ตัวอย่าง
                                        เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง      มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว
                          เป็นป่าเถื่อนแต่เป็นที่ไม่มีภัย                      อยู่ห่างไกลแต่ก็ใกล้ในคุณธรรม
                                        ใจจึงหน่ายจึงเหนื่อยจึงเมื่อยล้า     ฝุ่นผวาว่อนไหวลูกไล่ต้อน
                          เกิดแล้วก่อล่อแล้วเร้นเย็นแล้วร้อน              ไม่พักผ่อนเลยสักคราวเฝ้าแฟบฟู

วารีดุริยางค์”    :   เนาวรัตน์   พงษ์ไพบูลย์