วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

กวีคนสำคัญของไทย

กวีเอก

สุนทรภู่ 

                พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง
 ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย   เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี    และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่  จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน       
นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง
               ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่าง
ต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่น ๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป

รายชื่อผลงาน

งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง และสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเท่าที่ค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น
 "นักแต่งกลอน" ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัวจับยาก ผลงานของสุนทรภู่เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
นิราศ
นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการใน
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง 
นิทาน
โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์
พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่ง ๆ หยุด ๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภท
กลอนนิทาน
พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 - 2385
ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร
 ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง
สิงหไกรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็น
ตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว
สุภาษิต
สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่
เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
สุภาษิตสอนหญิง : เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
บทละคร
มีการประพันธ์ไว้เพียงเรื่องเดียวคือ อภัยนุราช ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
บทเสภา
ขุนช้างขุนแผน
เสภาพระราชพงศาวดาร
บทเห่กล่อม
เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ
เห่เรื่องพระอภัยมณี
เห่เรื่องโคบุตร
เห่เรื่องจับระบำ
เห่เรื่องกากี

กวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของกวีไทย
นางนพมาศ
เป็นกวีหญิงไทยคนแรก สมัยสุโขทัย ผู้แต่ง "คำสอนของนางนพมาศ"
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทรงนิพนธ์ "สมุทโฆษคำฉันท์" ต่อจากมหาราชครู อีกเรื่องหนึ่งที่เข้าใจว่าทรงนิพนธ์คือ "ลิลิตพระลอ"
พระมหาราชครู
เป็นกวีเอกในสมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระน

ารายณ์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่ง "สมุทโฆษคำฉันท์" ซึ่งยังแต่งไม่จบ ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน
พระโหราธิบดี
ชาวเมืองโอฆบุรี (พิจิตร) เป็ยกวีเอกและเชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ สมัยพระนารายณ์มหาราช
 สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่ง "จินดามณี" ซึ่งเป็นแบบเรียนเบื้องต้นของเด็กไทยมาตลอดจนถึงกลาง รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ศรีปราชญ์
ศรีปราชญ์ เป็นกวีเอกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 9 ขวบ หลังแต่นั้นมาจึงกลายเป็นกวีเอกของพระนารายณ์มหาราช แต่สุดท้ายด้วยความสามารถของตน ทำให้ผู้คิดปองร้าย ใส่ร้ายศรีปราชญ์ จนถูกสั่งประหารชีวิตในที่สุด   นอกจาก โคลง กลอน เล็กๆ น้อยๆ แล้ว มีสองเรื่องที่แต่งโดยศรีปราชญ์ คือ "อนิรุท"
 และ "กำสรวลศรีปราชญ์"
ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า
              ธรณีนี่นี้                  เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์              หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร               เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง                 ดาบนี้คืนสนอง ฯ
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (กุ้ง)
เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน ขุนหลวงบรมโกษฐ์ ทรงแต่ง "นันโทปนันทสูตรคำหลวง"
 "พระมาลัยคำหลวง" กาพย์เห่เรือ" และ "กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง" "นิราศธารโศก" ฯลฯ
พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน)
ทรงนิพนธ์ รามเกียรติ์ บางตอน
พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระราชนิพนธ์เรื่อง รบพม่าที่ท่าดินแดง ทรงพระราชนิพนธ์เป็นนิราศ
สมเด็จพระมหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรฯ พระราชนิพนธ์เรื่อง "ยกทัพไปปราบพม่าที่นครศรีธรรมราช"
นายนรินทร์ธิเบศร (อิน)
หรือเรียกกันว่า "นรินทร์อิน" กวีเอกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรื่องที่นรินทร์อินแต่งคือ "นิราศนรินทร์"
พระยาตรัง
กวีเอกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ง"นิราศลำน้ำน้อย"
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
กวีคนแรกที่มียศเป็นเจ้าพระยา นับเป็นกวีใหญ่ที่แต่งได้ทุกอย่าง ทั้ง โคลง ฉันท์ กลอน และ ร่าย เรื่องที่ท่านแต่งมี "ร่ายยาวเทศน์มหาขาติกัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี" นอกจากนั้นท่านยังสามารถแปลเรื่อง "สามก๊ก" ของจีน และ "ราชาธิราช" ของมอญ มาเป็นสำนวนร้อยแก้ว ซึ่งมีสำนวนกวีมาก นิทานคำกลอนที่มีชื่อเสียงของท่านคือ "สมบัติอัมรินทร์คำกลอน" และ "กากีกลอนสุภาพ"
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระองค์ทรงเป็นกวีเอก คำกลอนพระราชนิพนธ์ประเภท กลอนละครมีประมาณร้อยเล่มสมุดไทย
 พระราชนิพนธ์เหล่านี้มิได้ทรงเองทั้งหมด คือแบ่งพระราชทานให้กวีอื่นๆไปแต่งบ้าง แล้วมาอ่านต่อหน้าพระที่นั่ง ช่วยกันติ ช่วยกันแก้ เช่น "สังข์ทอง" ขุนช้างขุนแผน" "อิเหนา" ฯลฯ
กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
พระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงนิพนธ์ "สมุทโฆษคำฉันท์" ต่อจากพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีที่นิพนธ์เองคือ "ลิลิตเตลงพ่าย" "กฤษณาสอนน้องคำฉันท์" แหล่บายศรีนางลอย" ฯลฯ
สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร
ทรงเป็นผู้แปล (แต่งใหม่) "โคลงนิติคำโคลง" ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสุภาษิตดี ทั้งสิ้น
สมเด็จกรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์
ทรงนิพนธ์ "สุภาษิตพระร่วง"
พระมหามนตรี (ทรัพย์)
กวีสมัยรัชกาลที่ 3 เรื่องที่แต่งมี  "เพลงยาวบัตรสนเท่ห์"  และบทละครเรื่อง "ระเด่นลันได"
คุณสุวรรณ
กวีหญิงที่มีชื่อเสียง ในสมัยรัชกาลที่ 3-5 เรื่องที่แต่งไว้มี "พระมะเหลเถไถ" และ "อุณรุท-ร้อยเรื่อง"
คุณพุ่ม
จิตกวีหญิงฝีปากเอก ในกระบวนออกสักวา สมัยรัชกาลที่ 2 ถึง รัชกาลที่ 5 เป็นผู้แต่งเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
หลวงจักรปาณี (ฤกษ์)
มีชื่อเสียงว่าแต่งกลอนดี ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 เรื่องที่แต่งมี "นิราศพระปฐม" 
"นิราศทวาราวดี" และ "นิราศพระปถวี"
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)
เป็นกวีสมัย รัชกาลที่ 5 นับเป็นอาจารย์ในเรื่องภาษาไทย ท่านแต่งโคลงกลอนได้ทุกประเภท ส่วนมากเป็นประเภทตำราเรียนเช่น "มูลบทบรรพกิจ"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นกวีเอกพระองค์หนึ่ง พระราชนิพนธ์ของพระองค์ มี "พระราชพิธีสิบสองเดือน" "ไกลบ้าน"
 "ลิลิตนิทราชาคริต"   "เงาะป่า"
กรมหลวงพิชิตปรีชากร
เป็นกวีที่ใกล้ชิดกับรัชกาลที่ 5 ในทางวรรณคดีมากกว่าพระองค์อื่น เป็นผู้ทรงนิพนธ์ "คำฉันท์และโคลงจารึกอนุสาวรีย์พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศ" และ "โคลงภาพพงศาวดารนายขนมต้มชกพม่าที่อังวะ"
สมเด็จพระมหาสมณะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงนิพนธ์ "โคลงพิพิธพากย์"
กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์
ทรงเป็นกวีใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 พระนิพนธ์ของพระองค์มี "ลิลิตเรื่อง ตำนานพระแท่นมนังคศิลาบาต" "คำปรารภในเฉลิมเกียรติกษัตรีย์คำฉันท์" "กลอนสุภาพคำเริงสดุดีสตรีไทยนักรบ"
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นยอดกวีในทางแปล พระองค์ทรงใช้นามปากกาหลายนามปากกา เช่น "อัศวพาหุ" พระราชนิพนธ์ของพระองค์มี "สาวิตรี" "ศกุนตลา" "มัทนพาธา" "พระร่วง" เวนิสวานิส" "ตามใจท่าน" "ปลุกใจเสือป่า" "พระนลคำหลวง" "โรมิโอและจูเลียต" ฯลฯ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
ทรงนิพนธ์ไว้มากมาย พระนิพนธ์ที่ร้อยกรองมีสามเรื่องที่นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ คือ "พระนลคำฉันท์"
 "กนกนคร" และ "สามกรุง"
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน)
เป็นผู้แต่ง "อิลราชคำฉันท์"
นาย ชิต บุรทัต
เป็นผู้ประพันธ์ "สามัคคีเภทคำฉันท์"
อังคาร กัลยาณพงศ์
 ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นจิตรกรและกวี เป็นกวีที่คงความเป็นไทย ทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ 
อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว จึงนับเป็นกวีผู้บุกเบิกกวีนิพนธ์ยุคใหม่ ซึ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่าวถึงผลงานกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ ว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก
นายอังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นกวีร่วมสมัยผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างสรรค์กวีนิพนธ์สมัยใหม่ให้แก่วรรณศิลป์ไทยได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๒
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน
เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว
เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ 
สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูล:http://www.baanjomyut.com/library/kaweethai.html
                    http://th.wikipedia.org/wiki
          



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น