วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติการประพันธ์

วิวัฒนาการร้อยกรองไทย
ประวัติการประพันธ์                  
       ประเทศไทยเรามีภาษาไทยและอักขระไทยเป็นเอกลักษณ์  ประกอบกับด้วยความที่คนไทยเรานั้นมีนิสัยประณีต  บรรจงและรักสงบ  นักปราชญ์  นักกวีไทยในสมัยก่อนจึงได้สรรค์สร้างเอาอักขระไทยและภาษาไทยมาผสมผสานกัน  โดยให้มีความไพเราะและเกิดการวิจิตรทางภาษานั้นก็คือ  การประพันธ์  เมื่อการเวลาผ่านไปนักปราชญ์ชาวไทยก็ได้พัฒนาการประพันธ์ให้วิจิตรและงดงามมากขึ้น  ดั่งเช่น  คำคล้องจอง  ธรรมดา  ซึ่งเราอาจะเรียกว่าร่ายโบราณก็ได้  ต่อมาก็เริ่มมีการสัมผัสอักษร  ก่อให้เกิดโคลงและกลอน  เราได้รู้จักเอาของอินเดียบ้าง  บทสวดบ้างมาประยุกต์จนเกิดกาพย์ขึ้นมา  รู้จักการใช้สระเสียงหนัก-เบา  ก่อให้เกิดฉันท์  และที่สำคัญที่สุดคือการประยุกต์สิ่งของที่มีอยู่เดิม  ทำให้เกิดลิลิตขึ้นมา
ความหมายการประพันธ์  
        คำว่าประพันธ์มาจากภาษาบาลีว่า  ปพนธ  และภาษาสันสกฤตที่ว่า ปรพ.นธ  ซึ่งหมายถึงการร้องกรอง  การผูกถ้อยคำเป็นเชิงวรรณคดี
ประเภทของร้อยกรอง  
-          เพลงพื้นบ้าน  เป็นบทร้อยกรองที่สันนิษฐานว่าเกิดก่อนร้อยกรองทุกประเภท  โดยมีการร้องหรือขับกันมาตั้งแต่สมัยยังไม่มีตัวอักษรใช้  ที่เรียกกันว่าวรรณคดีมุขปาฐะ  เช่น  เพลงเรือ  เพลงปรบไก่  เพลงกล่อมลูก  ซึ่งมักจะไม่ค่อยเคร่งครัดในเรื่องฉันทลักษณ์  แต่มุ่งความสนุกสนานและความไพเราะของน้ำเสียงเป็นสำคัญ
-          กลอน  เป็นบทประพันธ์เรารู้จักกันมากที่สุด  โดยตามความหมายตามทั่วไป  กลอนอาจจะหมายถึงบทประพันธ์ร้อยกรองทุกประเภท  แต่ในขณะที่นี้จะหมายถึงบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง  เช่น  กลอนหก  กลอนแปด  กลอนนิราศ  ฯลฯ
-          กาพย์  เป็นบทประพันธ์ที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในมหาชาติคำหลวง  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีลักษณะคล้ายฉันท์  แต่ไม่บังคับครุลหุ  ที่นิยม  ได้แก่  กาพย์ยานี  กาพย์ฉบัง  กาพย์สุรางคนางค์
-          โคลง  เป็นบทประพันธ์ที่เก่าแก่อีกอันหนึ่ง  ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น  เช่น  โคลงกำสรวล  โดยจะกำหนดจำนวนคำ  สัมผัส  และคำเอกคำโท  แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ  ได้แก่  โคลงสุภาพ  โคลงดั้นและโคลงโบราณ
-          ร่าย  บทประพันธ์ที่มีรูปแบบของร่ายชัดเจน  ได้แก่  ลิลิตพระลอ  โดยจะมีการกำหนดจำนวนคำในวรรค  สัมผัส  และคำเอกคำโทในตอนท้าย  จะแต่งด้วยความยาวเท่าไรก็ได้  ประเภทของร่าย  ได้แก่  ร่ายสุภาพ  ร่ายดั้นและร่ายโบราณ  นอกจากนี้ยังมีร่ายยาวที่มิได้กำหนดจำนวนคำ  เพียงแต่มีสัมผัสจากวรรคหนึ่งกับวรรคต่อไปให้เชื่อมกันจนจบเรื่อง  เช่น  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
-       ลิลิต  เป็นบทประพันธ์ที่ประสมระหว่างโคลงและร่าย  คือ  เป็นการแต่งกับโคลงกับร่ายสลับกันไปโดยมีสัมผัสเกี่ยวเนื่องกัน  มี 2 ประเภท  ได้แก่  ลิลิตสุภาพและลิลิตดั้น
-       ฉันท์  เป็นรูปแบบบทประพันธ์ของอินเดียซึ่งไทยเราได้นำรับเอามาใช้  จึงมีการบังคับครุลหุและไทยได้เพิ่มสัมผัส  เพื่อให้คล้องจองกันตามความนิยม  ตำราฉันท์ตั้งแต่ดั้งเดิมคือ  วุตโตทัย  ต่อมาสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  ทรงคิดดัดแปลงแต่งเป็นคำฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ  รวม 58  ชนิด  และนายฉันท์  ขำวิไล  แต่งเพิ่มอีก 50 ชนิด  รวมเป็น 108  ชนิด
-       กลบท  เป็นการนำเอาโคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน  มาเพิ่มบังคับพิเศษหรือเขียนซ่อนเงื่อนให้ผู้อ่านฉงน  เช่น  กลบทงูกลืนหาง  กลบทกบเต้นต่อยหอย  ฯลฯ
-       เพลง  เป็นบทประพันธ์ร้อยกรองที่นำมาประกอบดนตรี  เพลงที่ใช้ประกอบดนตรีไทยเดิมมักใช้รูปแบบกลอนเป็นพื้นฐาน  ส่วนเพลงประกอบดนตรีสากลมักใช้คำประพันธ์ที่มีลักษณะสอดคล้องกับทำนองเพลงนั้นๆ  ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว  ปัจจุบันการแต่งเพลงเป็นที่แพร่หลายมาก  จึงจัดประเภทบทเพลงเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองประเภทหนึ่ง
-       คำประพันธ์รูปแบบใหม่    เป็นคำประพันธ์ประเภทอื่นๆที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทได้  เช่น  กลอนเปล่า  วรรณรูป  และคำประพันธ์ที่ผู้แต่งคิดแบบใหม่ๆขึ้นในปัจจุบัน  จะรวมอยู่ในประเภทของคำประพันธ์รูปแบบใหม่  ซึ่งจะยกมาให้ศึกษาต่อไป
วิวัฒนาการร้อยกรองไทย
ร้อยกรองสมัยสุโขทัย 
1.      การปรากฏของร้อยกรองสมัยสุโขทัย
                   การปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงการละเล่นในสมัยนั้นว่า ” …เสียงพาทย์  เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ  ใครจักมักเล่น  เล่น  ใครจักมักหัว  หัว  ใครจักมักเลื่อน  เลื่อน..”  ในสมัยสุโขทัยนี้มีการขับอยู่แล้วและถ้อยคำที่นำมาขับนั้นย่อมมีรูปแบบเฉพาะ  หรือไม่มีรูปแบบ  แต่อาศัยจังหวะการเอื้อนทอดเสียงให้ไพเราะ  มีสัมผัสคล้องจองกันตามแบบฉบับร้อยกรองไทย  ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเพลงพื้นบ้าน  ทำนองต่างๆเกิดขึ้นมาก่อนก็ได้  แสดงว่าร้อยกรองของไทยเกิดขึ้นแล้วก่อนสมัยสุโขทัย
2.      รูปแบบของร้อยกรองสมัยสุโขทัย
                   จะมีรูปแบบคำประพันธ์ที่ไม่ชัดเชน  แต่จะมีบางวรรคที่ร้อยสัมผัสในลักษณะร้อยกรอง  เช่น  เมืองสุโขทัยนี้ดี  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว…  หรือออกมาในรูปของการเล่นคำซ้ำ  เช่น  เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้  มีพิหาร  มีปู่ครู  มีทะเลหลวง  มีป่าหมากป่าพลู  มีไร่มีนา…  เพราะฉะนั้นจึงน่าจะสรุปได้ว่าร้อยกรองที่ปรากฏในสมัยโบราณและสมัยสุโขทัยนั้นยังไม่มีรูปแบบที่แน่นอน  แต่ก็ถือได้ว่ามีคำร้อยกรองของไทยเกิดขึ้น  และถ่ายทอดกันในรูปแบบของเพลงพื้นบ้าน
ร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
1.      การปรากฏของร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
                   ร้อยกรองสมัยนี้จะปรากฏในวรรณคดีเป็นส่วนมาก  แต่สูญไปบ้างในระหว่างสงครามก็ได้  ซึ่งยังพอมีหลักฐานในการร้อยกรองในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น 2 ระยะ  ได้แก่
1.1  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(..1893 – 2171)  ปรากฏร้อยกรอง  ดังนี้
ลิลิต  คือ  บทร้อยกรองที่ใช้โคลงและร่ายแต่งปะปนกัน  เช่น  ลิลิตโองการแช่งน้ำ  ลิลิตยวนพ่าย
โคลง  นิยมแต่งเป็นโคลงดั้น  เช่น  ลิลิตยวนพ่าย  มหาชาติคำหลวง  ส่วนโคลงสุภาพมีในมหาชาติคำหลวงและลิลิตพระลอ
ฉันท์  ปะปนในมหาชาติคำหลวงหลายบท
กาพย์  เช่นเดียวกับฉันท์  
1.2  สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย(..2171 – 2310)
                   ปรากฏร้อยกรองทุกประเภท  ดังนี้
โคลง  นิยมมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เช่น  โคลงพาลีสอนน้อง 
โคลงทศรถสอนพระราม  กาพย์ห่อโคลงของพระศรีมโหสถ
ฉันท์  ใช้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ได้แก่  สมุทรโฆษคำฉันท์  อนิรุทธ์คำฉันท์  คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง  เป็นต้น
กาพย์  นอกจากนิยมแต่งกับฉันท์แล้ว  ยังนิยมแต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง  กาพย์เห่เรือ  ซึ่งเป็นลักษณะของการแต่งโคลงปนกาพย์  ปรากฏในกาพย์ห่อโคลงเรื่องต่างๆ  กาพย์ห่อโคลงประพาสทองแดง  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร  เป็นต้น
กลอน  ปรากฏในรูปของกลอนเพลงยาวต่างๆ  เช่น  เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา  เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง  บทละครครั้งกรุงเก่า  เป็นต้น
ร่ายและลิลิต  มีแต่คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  ที่ปรากฏในนันดทปนันทสูตรคำหลวงและร่ายโบราณในพระมาลัยคำหลวงเท่านั้น
กลบท  ในกลบทสิริวิบุลกิติ์และจินดามณี
2.      รูปแบบ
                   มิได้เคร่งครัดในฉันทลักษณ์เท่าใดนัก  แต่จะเน้นจังหวะและเสียงเป็นสำคัญ
จึงต้องสังเกตจากสำนวนและการแบ่งวรรคตอน  เช่น
                   นกหกต่างรวงรัง                                       และประนังบังเหิรโหย
พากันกระสันโบย                                                         บัตรเรียกมารังเรียง
(สมุทรโฆษคำฉันท์)
                   จะเห็นได้ว่าในคำบังคับของฉันท์นั้น  กวีถือเสียงเป็นสำคัญ  จึงต้องสังเกตโดยมิได้คำนึงถึงรูปฉันทลักษณ์เท่าใดนัก  แต่ทั้งนี้คำที่อยู่ในลหุจะอ่านเป็นเสียงเบาทั้งสิ้น

ร้อยกรองสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินตอนต้น
1.      การปรากฏของร้อยกรอง 
                   ในสมัยนี้ร้อยกรองไทยมีปรากฏในวรรณคดีต่างๆ  เช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา  แยกประเภทได้  ดังนี้
1.1  โคลง  มีแทรกอยู่ในลิลิตต่างๆ  เช่นลิลิตเพชรมงกุฎ  ลิลิตตะเลงพ่าย  หรือลักษณะที่เป็นโคลงล้วน  เช่น  โคลงนิราศนรินทร์  นิราศสุพรรณและโคลงโลกนิติ  เป็นต้น
1.2    ฉันท์  เช่น  อิเหนาคำฉันท์  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย  และมีตำราการแต่งฉันท์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก
1.3    กาพย์  มีปรากฏแทรกอยู่ในคำฉันท์สมัยกรุงธนบุรีบ้าง  ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์  ก็มีกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน  กาพย์พระไชยสุริยา  เป็นต้น
1.4    กลอน  ได้รับความนิยมสูงสุดมีทั้งที่แต่งเป็นนิทานคำกลอนและบทละคร  เช่น  รามเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี  รามเกียรติ์รัชกาลที่  บทละครเรื่องอิเหนา  เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน  พระอภัยมณี  กลอนนิราศต่างๆ
1.5    ร่ายและลิลิต  เช่น  ลิลิตเพชรมงกุฎ  ลิลิตตะเลงพ่าย
1.6    กลบท  ปรากฏมากในประชุมจารึกวัดพระเชตุพน  และปรากฏเป็นบางส่วนในกาพย์พระไชยสุริยา


2.      รูปแบบ
                   จะเป็นไปตามบทบัญญัติและลักษณะบังคับโดยเคร่งครัดทุกชนิด  เช่น
2.1  โคลง  ถือตามแบบฉบับของลิลิตพระลอว่าเป็นแบบที่ถูกต้อง  โดยมีการอนุโลมให้ใช้คำตาย  คำเอกโทษและโทโทษได้
2.2   ฉันท์  มีการแต่งตำราฉันท์มาตราพฤติและวรรพฤติของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส  โดยคำฉันท์แต่ละชนิดได้กำหนดคณะให้เป็นรูปแบบได้
2.3   กาพย์  มีการพลิกแพลงหรือดัดแปลงให้เป็นกาพย์กลอนที่มีลีลาที่แพรวพราวไปบ้าง  เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคมากขึ้น
2.4   กลอน  รูปแบบของกลอนสุนทรภู่ที่มีรูปแบบสวยงามและมีลีลาไพเราะที่สุด
2.5   ร่ายและลิลิต  เจ้าพระยาพระคลัง(หน ได้กำหนดรูปแบบของลิลิตขึ้นใหม่ในลิลิตพระมงกุฎ  ซึ่งก็ยึดถือตามกันมา
2.6   กลบทและคำประพันธ์รูปแบบใหม่  ได้มีการคิดรูปแบบกลบทและคำประพันธ์รูปแบบใหม่ขึ้นหลายชิ้น  มีการฟื้นฟูเพลงพื้นบ้านและการละเล่นต่างๆมากมาย
2.7                         คำสร้อย  คือ  คำที่เติมท้ายวรรคเพื่อเอื้อนเสียงให้ไพเราะ  เพิ่มความสมบูรณ์ของข้อความ  ใช้ในโคลงและร่าย  ได้แก่คำว่า  พี่เอย  สูงเอย  นาพ่อ  น้องนอ  หนึ่งรา  ก็ดี  ฤๅแม่  ฤๅพ่อ  เป็นต้น    

การพัฒนาการร้อยกรองไทยในปัจจุบัน
1.      ยุคแห่งการเริ่มต้น(..2470 – 2490)
                   ในช่วงนี้กวีได้รับอิทธิพลทางด้านแนวคิด  และรูปแบบของร้อยกรองตะวันตก  ผลงานร้อยกรองสั้นๆเริ่มปรากฏมากขึ้น  กวีที่สมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เริ่มสร้าง  ผลงานแนวใหม่คือ  ครูเทพ  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ในด้านรูปแบบมีทั้งฉันท์  โคลง  กาพย์  กลอนที่น่าสนใจ  ครูเทพ  ได้ริเริ่มเอารูปแบบเพลงพื้นบ้านมาเขียนร้อยกรองอย่างงดงาม  ในด้านเนื้อหาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  ฯลฯ
                   วิสัยเด็กเปรียบได้กับไม้อ่อน
ที่ดัดร้อนรนไฟนั้นไม้คร่ำ
ดัดเย็นได้ไฉนจักไม่ทำ
ดัดด้วยน้ำรักกระด้างอ่อนดังใจ
                   เก็บไม้เรียวห่อไว้ตู้เหล็ก
สำหรับเด็กเกกมะเหรกและเหลือขอ
ทารกอ่อนเยาว์ไวใช้ลูกยอ
แล้วหุ้มห่อด้วยรักจักมีชัย
                  
                   ในยุคสมัยเดียวกันนี้  นอกจากมี ครูเทพ แล้วยังมีกวีที่น่าสนใจอีก  เช่น 
.. และ  นายชิต  บุรทัต  ซึ่งกวีทั้งสองท่านนี้ยังเคร่งครัดฉันทลักษณ์ตามแบบโบราณอยู่
2.      ยุคศิลปะเพื่อศิลปะเข้าสู่ศิลปะเพื่อชีวิต(..2490 – 2500)
                   หลังยุคสงครามมหาบูรพาบรรยากาศร้อยกรองไทยมีชีวิตชีวาขึ้น  แนวคิดศิลปะเพื่อศิลปะ  เป็นแนวคิดเชิงเสรีนิยมจัดเป็นงานร้อยกรองเพื่อชีวิต  โดยเฉพาะชีวิตของประชาชนผู้ทุกข์ยากขมขื่น  กวีกลุ่มนี้ได้แก่  นายผี(อัศนี  พลจันทร์ เป็นผู้ปูเส้นทางและบุกเบิกทางด้วยผลงานที่มีคุณภาพ  และมีอิทธิพลต่อกวียุคหลัง  นอกจาก 
นายผี  ยังมีเปลื้อง  วรรณศรี  ทวีปวร , จิตร  ภูมิศักดิ์  ฯลฯ  เช่น
                   เปิบข้าวทุกคราวคำ                                   จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน                                                                จึงก่อเกิดมาเป็นคน
ข้าวนี้นะมีรส                                                                ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน                                                      และขมขื่นจนเขียวคาว
จากแรงมาเป็นรวง                                                       ระยะทางนั้นเหยียดยาว
จากรวงเป็นพราว                                                         ล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ
3.      ยุคแห่งความเพ้อฝัน(.. 2501 – 2506)
                   หลังจากการปฏิวัติของ  จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์  เมื่อปี  .. 2501  นักเขียนส่วนใหญ่ถูกจับกุม  มีผลทำให้วรรณศิลป์เปลี่ยนแปลงไปสู่แนวเฟ้อฝัน  และสะท้อนสังคมด้วยวิธีนุ่มนวล  ไม่ก้าวร้าว  งานร้อยกรองส่วนใหญ่มุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวเป็นกลอนรักตักพ้อต่อว่าระหว่างหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่  นักกลอนส่วนใหญ่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย  เช่น  ประยอม  ซองทอง , เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ , นภาลัย  สุวรรณธาดา  ฯลฯ  เช่น
          อย่านะอย่าหวั่นไหวใจห้ามขาด                     ใจตวาดแล้วใจใยผวา
ตาร้องไห้ใจก็ตามไปห้ามตา                                    สมน้ำหน้าหัวใจร้องไห้เอง
4.      ยุคแห่งการแสวงหา(.. 2506 – 2510)
                   เมื่อพ้นสมัยจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ไปแล้ว  การแสวงหารูปแบบ  และความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น  ลักษณะร้อยกรองในช่วงนี้  แบ่งออกเป็นหลายแนวดังนี้
-          กลุ่มสืบทอดแนวเพ้อฝันหรือแสดงอารมณ์ส่วนตัว  เป็นเนื้อหาแนวรักๆใคร่ๆมีนักกลอนใหม่ๆเกิดขึ้น  เช่น  วาณิช  จรุงกิจอนันท์  เนาวรัตน์  วงศ์ไพบูลย์
ฯลฯ
-          กลุ่มสะท้อนชีวิตสังคมรุ่นใหม่  กลุ้มนี้ได้พัฒนาเนื้อหาสะท้อนสังคม  และแสดงความรู้สึกที่อึดอัด  ต่อบรรยากาศทางการเมือง  ได้แก่  สุรศักดิ์  ศรีประพันธ์  ธารี(อดุล  จันทรศักดิ์ ฯลฯ  เช่น

                   ฆาตกรนิรนามสงครามเถื่อน
เพื่อนกับเพื่อนก็ยังฆ่ากันได้
ชนะละทิ้งคุณธรรมประจำใจ
เพียงเพื่อใช้นามว่า  วีรชน
-          กลุ่มปลดแอกฉันทลักษณ์  นักกลอนกลุ่มนี้จักได้ว่าเป็นผู้แหวกแนวฉันทลักษณ์  อังคาร  กัลยาณพงศ์  จัดเป็นกวีที่ไม่ใส่ใจในรูปแบบ  การเรียงร้อยถ้อยคำนั้นเป็นเลิศด้านความคิดล้ำลึก  คำที่สรรใช้  คม  ขลัง  ให้ความรู้สึกที่ศักดิ์สิทธิ์  สง่างาม  มีลีลาแปลกไปจากอื่นๆ  เช่น
                   วักทะเลเทใส่จาน                                 รับประทานกับข้าวขาว
เอื้อมเก็บบางดวงดาว                                              ไว้คลุกเคล้าซาวเกลือกิน
ดูปูหอยเริงระบำ                                                      เต้นรำทำเพลงวังเวงสิ้น
กิ้งก่ากิ้งกือบิน                                                         ไปกินตะวันและจันทร์
5.      ยุคศิลปะเพื่อมวลชน(14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519)
                   จากเหตุการณ์นองเลือด  เมื่อ 14 ตุลาคม 2516  ทำให้บรรยากาศทางการเมืองเปลี่ยนไป  นับจากเหตุการณ์มหาวิปโยคมักนักเขียนหลายคนได้บันทึกถึง  เรื่องราวและสดุดีวีรชนที่เสียชีวิตอย่างมากมาย  ด้วยอารมณ์ที่สะเทือนใจ  เช่น
                   ใบไม้มีรอยพรุนกระสุนศึก
ในน้ำลึกมีร่องโลหิตฉาน
เสียงลึกลับขับร้องฟ้องร้องพยาน
และเนิ่นนานนับแต่นั้นฉันสุดทน
6.      ยุคพฤษภาทมิฬ(หลัง 4 – 20 พฤษภาคม  2535 -  ปัจจุบัน)
                   บรรยากาศร้อยกรองไทย  ในช่วงพฤษภาเลือดเกิดเหตุวิกฤตทางการเมือง  เมื่อผู้นำรัฐบาล  พลเอกสุจิดา  คราประยูร  โดยขับไล่  ทหารลุยฆ่าประชาชน  พลังผู้ต่อต้าน  และเรียกร้องประชาธิปไตย  บทร้อยกรองในช่วงนี้สะท้อนความเจ็บปวดร้าวลึกผนึกด้วยหยาดเลือด  และหยาดน้ำตาแผ่นดิน  ดั่งตัวอย่าง  เช่น

          ออกจากบ้านตั้งนานไม่ถึงบ้าน               มาล้มร่างกลางลานข้างถนน
แค่ยืนดูเขาก็สาดกราดปืนกล                            ต้องจำนนไปอย่างนี้อีกไม่นาน
เหลือวิญญาณออกจากบ้านไม่ถึงเหย้า              เหลือแต่คำบอกเล่าถึงลูกหลาน
ว่าหลังเพ็ญวิสาข์ฆ่ากันบาน                             เจ้าของบ้านออกจากบ้านแล้วถูกยิง
             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น